ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "โรงเรียนกวดวิชา"

นักเรียนเตรียมทหาร

นักเรียนเตรียมทหาร
นักเรียนเตรียมทหาร

*ถาม-ตอบสายตรงกับโรงเรียน นายร้อยตำรวจ

*ถาม-ตอบสายตรงกับโรงเรียน นายร้อยตำรวจ

*ระเบียบการทั่วไปของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสานักงานตารวจแห่งชาติ

ผู้มีสิทธิ์สมัคร จะต้องมีพื้นความรู้ และคุณสมบัติ เป็นไปตามระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกีบคดีลักษณะ
ที่ 11 บทที่ 5 ข้อบังคับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ภาค 7 ว่าด้วย นักเรียนเตรีมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยพื้นฐานความรู้และคุณสมบัติของผู้สมัคร ประเด็นหลักประกอบด้วย

1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า

2. อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็น นตท.การนับอายุให้นับตาม
กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (นับปีชนปี)

3. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร นายทหาร
ชั้นสัญญาบัตร หรือตำรวจชั้นประทวน นายทหารชั้นประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่ผู้มี
สัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้

4. เป็นชายโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ หรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นที่จะถือว่าเป็นผู้มีภรรยา"
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กล่าวถึงวิชาที่สอบและคะแนนเต็ม ว่า ขอบเขตวิชาที่สอบครอบคลุมความรู้
ระดับช่วงชั้นปีที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ คะแนนเต็ม 700 คะแนน 140 ข้อ
ประกอบด้วย
• วิชาวิทยาศาสตร์ 200 คะแนน
• วิชาคณิตศาสตร์ 200 คะแนน
• วิชาภาษาอังกฤษ 150 คะแนน
• วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา 75 คะแนน
• วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา 75 คะแนน

สำหรับเงื่อนไขผู้มีสิทธิได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษ มีรายละเอียด ดังนี้

1. บุตรข้าราชการตำรวจหรือข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่มีเวลารับ ราชการดังนี้ (1.1) ไม่น้อยกว่า 15 ปี
หรือได้รับเหรียญจักรมาลา เพิ่มรอบสองให้ 4% ของคะแนนเต็ม (1.2) ไม่น้อยกว่า 10 ปี เพิ่มรอบสองให้ 3%
ของคะแนนเต็ม (1.3) ไม่ถึง 10 ปี เพิ่มรอบสองให้ 2% ของคะแนนเต็ม ระยะเวลารับราชการให้นับตั้งแต่วันเข้า
รับราชการถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ของปีรับสมัคร

2.- บุตรของข้าราชการตำรวจ ทหาร ข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ในระหว่างที่มีการรบ หรือ การสงคราม
หรือมีการปราบจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึก
หรือ มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรือ ในช่วงเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำน้ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเวลาราชการทวีคูณตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เพิ่มรอบสองให้ 3% ของคะแนนเต็ม

-บุตรของข้าราชการตำรวจ ทหาร ข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่
ทางยุทธการร่วมกันกับทหารระหว่างที่มีการรบ
หรือ การสงคราม หรือ มีการปราบจลาจล
หรือ ในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึก
หรือ มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรือ ในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำเรือดำน้ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเวลาราชการทวีคูณตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ เพิ่มรอบสองให้ 5% ของคะแนนเต็ม

-พลเรือหรือบุตรของพลเรือน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในป้องกันและรักษาความมั่นคงของ
ราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ เพิ่มรอบสองให้ 5% ของคะแนนเต็ม

3. -บุตรของข้าราชการตำรวจ ทหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการหรือลูกจ้าง ซึ่งต้องประสบอันตราย
ถึงทุพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ตามปกติ
หรือถูก ประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
หรือ ต้องได้รับบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือ ได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโมว่าด้วยคนงาน
หรือ ได้รับบำเหน็จพิเศษ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง เพิ่มรอบแรกให้ 6 % ของคะแนนเต็ม

-บุตรของข้าราชการตำรวจ ทหาร ข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ
หรือลูกจ้างต้องประสบอันตรายถึงทุพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ทาง ยุทธการ
หรือ ถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ตามข้อ 3.2
หรือ ต้องได้รับบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จพิเศษตามกฎหมาย ว่าด้วยการบำเหน็จข้าราชการ
หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโมว่าด้วยคนงาน
หรือได้รับ บำเหน็จพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
หรือ บุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
หรือเหรียญเข็มกล้าหาญ เพิ่มรอบแรกให้ 10% ของคะแนนเต็ม

4. บุตรของข้าราชการตำรวจ ทหารที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงทุพลภาพหรือถึงแก่ ชีวิต
หรือผู้ที่ได้ช่วยเหลือราชการในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงทุพลภาพหรือถึง แก่ชีวิต ซึ่งได้รับการรับรองจาก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มรอบแรกให้ 10% ของคะแนนเต็ม

*โรงเรียนนายร้อยตำรวจแห่งชาติ
*เวบไซด์โรงเรียนนายร้อยตำรวจแห่งชาติ
*นักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสานักงานตารวจแห่งชาติ
*ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจแห่งชาติ
*หมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานภายใน
*ที่ตั้ง แผนที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจแห่งชาติ

ผู้ที่จะเข้ามาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องเป็นผู้มีพื้นความรู้
และคุณสมบัติดังกล่าวที่ดังกล่าวไว้ข้างต้นและจะ ต้องเข้าสู่กระบวนการสอบแข่งขัน ซึ่งจะมีการสอบ 2 รอบ คือ

1.การสอบรอบแรก (ข้อเขียน)
เป็นการสอบภาควิชาการ ในชั้นความรู้ครอบคลุมมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
ประกอบด้วย 4 วิชา คือ วิทยาศาสตร์, วิชาคณิตศาสตร์, วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา

2.การสอบรอบสอง
ผู้ที่มีสิทธิสอบรอบสองได้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับประกาศเป็นผู้สอบผ่านรอบ แรก (ข้อเขียน) ก่อน โดยการสอบรอบแรก
จะคัดจากผู้สมัครที่สอบได้คะแนนรวมสูงสุดลงมาจำนวน 630 คน (จำนวนที่ต้องการรับ 180 คน)
โดยการสอบรอบสอง จะเป็นการสอบใน 3 ส่วน คือ

2.1.การตรวจร่างกาย

2.2.การสอบพลศึกษา
ประกอบด้วย 8 ประเภท คือ ดึงข้อราวเดี่ยว, ลุกนั่ง, นั่งงอตัว, วิ่งระยะสั้น(50 เมตร), วิ่งระยะไกล (1,000 เมตร),
ยืนกระโดดไกล, ว่ายน้ำ 50 เมตร) และวิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ)

2.3.การสอสัมภาษณ์และวัดขนาดร่างกาย
ผู้ที่จะสามารถเข้ามาเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ
ดังกล่าวข้างต้นทุกขั้นตอน"

พล.ต.ท.อมรินทร์ อัครวงษ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปิดเผยถึงระยะเวลาการศึกษา
สวัสดิการและความก้าวหน้าในสายอาชีพว่า ผู้ที่สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติ ได้ จะต้องได้รับการศึกษาอบรม ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

1.การศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร ระยะเวลา 3 ปี
2.การศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะต้องเป็นผู้ที่สอบได้ผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนเตรัยมทหารกำหนด
โดยจะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00 ซึ่งโรงเรียนเตรียมทหารจำทำพิธีส่งตัวนักเรียนเตรียม
ทหารชั้นปีที่ 3 ให้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
สำหรับการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ แบ่งเป็น 4 ชันปี เป็นไปตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2549

ในด้านของสวัสดิการ ระหว่างการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจทุกคนจะได้รับเงินเดือนเท่ากันทุกชั้นปี

ส่วนความก้าวหน้าในอาชีพนั้น ผู้ที่สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ได้ ถือได้ว่ามีอาชีพรองรับเมื่อจบการศึกษา และจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ได้รับวุฒิ
ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ หรือตัวย่อ รป.บ.(ตร.)

จะอย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ที่สนใจและมีพื้นความรู้คุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด ฝึกฝนและเสริมสร้างความพร้อม
ทั้งในด้านความรู้ ด้านร่างกายและด้านจิตใจ ให้สามารถสอบผ่านทั้งรอบแรก (ข้อเขียน) และรอบสองเพื่อไปสู่การ
ฝึกอบรม ทั้งในส่วนของโรงเรียนเตรียมทหารทหารและโรงเรียนนายเรือตำรวจ" พล।ต.ท.อมรินทร์กล่าว
แต่ละวิชาที่ใช้ในการการสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจ
จะมีน้ำหนักคะแนนที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้


รอบแรก ภาควิชาการ มีคะแนน ๗๐๐ คะแนน สำหรับผู้สมัคร ชั้น ม.3 รอบแรก ภาควิชาการ มีคะแนน ๗๐๐ คะแนน คือ
(คะแนนแต่ละวิชา ของจริงอาจไม่ตรงกันนะครับ แต่จะประมาณนี้ละครับ)

๑. คณิตศาสตร์ ๒oo คะแนน

๒. วิทยาศาสตร์ ๒oo คะแนน

๓. ภาษาไทย และสังคมศึกษา ๑๕๐ คะแนน

๔. ภาษาอังกฤษ ๑๕๐ คะแนน


หมายเหตุ : รอบแรกสอบข้อเขียนซึ่งแต่ละเหล่าทัพสอบคนละวันดังนั้นนักเรียนควรจะสอบให้ครบทุกเหล่าทัพ.
ขอบเขตเนื้อหาวิชาครอบคลุมตามหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของกระทรวงศึกษาธิการ

ขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ออกสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารหลักสูตร 3 ปี
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

* วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ค 101 , ค 102 , ค 203 , ค 204 , ค 011 , ค 012

* วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน วิทยาศาสตร์เพื่อการสร้างสรรค์ , น้ำเพื่อชีวิต , สารรอบตัว , โลกสีเขียว , ชีวิตสัตว์ , ระบบนิเวศ , อาหาร , กลไกมนุษย์ , หญิงและชาย , โลกและการเปลี่ยนแปลง , ทรัพย์ในดินสินในน้ำบรรยากาศ , โลกดวงดาวและอวกาศ , พลังงานกับชีวิต , เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน , การขนส่งและการสื่อสาร , ผลผลิตทางการเกษตรและการจัดการ

* วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 คะแนน การใช้ไวยากรณ์พื้นฐาน , ความสามารถในทักษะการอ่าน , ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร , คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

* วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 75 คะแนน หลักภาษาไทย และทักษะสัมพันธ์

* วิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม 75 คะแนน ประเทศของเรา , ทวีปของเรา , โลกของเรา
(คะแนนแต่ละวิชา ของจริงอาจไม่ตรงกันนะครับ แต่จะประมาณนี้ละครับ)

เทคนิคการสอบรอบแรก http://www.cadethome.com/technic_1.pdf



การสอบรอบที่สอง http://www.cadethome.com/technic_2.pdf
เป็นการสอบไม่มีคะแนน กำหนดผลการสอบ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน”
เท่านั้น โดยทำการสอบตามรายละเอียดดังนี้


๑. การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาเป็นการตรวจสอบรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ คุณลักษณะความเหมาะสมที่จะเป็นนายทหาร
[b]เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจา[/b] http://www.nwccadet.com/08exm/suwc001.pdf

๒. การตรวจร่างกายเป็นการตรวจขนาดรูปร่าง ลักษณะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมทั้งการตรวจโรค และความพิการที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตามเหล่าทัพต่าง ๆ หรือไม่โดยเป็นการตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลตามเหล่าทัพรวมถึงการตรวจสุขภาพ จิตว่ามีโรคที่ขัดต่อระเบียบการเป็นนักเรียนเตรียมทหาร..

๓ .การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย เพื่อประเมินความแข็งแรง ความอดทน ความคล่องตัวของร่างกาย โดยมีการทดสอบ ๘ รายการ คือ ลุกนั่ง ๓๐ วินาที, นั่งงอตัว, ดึงข้อ, ยืนกระโดด, วิ่งกลับตัว, วิ่ง ๕๐ เมตร, ว่ายน้ำ ๕๐ เมตร และวิ่ง ๑,๐๐๐ เมตร หมายเหตุ : รอบสองจะไม่รวมกับคะแนนรอบแรกถ้าตกสถานีใดสถานีหนึ่ง(พละโดยเฉพาะว่ายน้ำ) ถือว่าตกทั้งหมดการรอบสอง ถ้าติดหลายเหล่าควรเลือกสอบเพียงเหล่าใดเหล่าหนึ่งเท่านั้นเพราะทุกเหล่าทัพ สอบวันเดียวกัน



ผู้ไม่มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

๑ ไม่มีคุณสมบัติ และลักษณะครบถ้วนตามที่ระบุไว้

๒ ผู้ที่เคยทุจริตในการสมัครหรือในการสอบคัดเลือกมาแล้ว

๓ ผู้ที่ออกจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหารเพราะความประพฤติบกพร่องหรือลาออก

๔ ผู้ที่เคยถูกถอนทะเบียนออกจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร



การเตรียมตัวของผู้สมัคร

๑. ผู้สมัครต้องอ่านระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนต่างๆ ให้เข้าใจ อย่างชัดเจนโดยตลอด

๒. เตรียมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร และตรวจสอบให้ครบถ้วนเรียบร้อยก่อนสมัคร ถ้าข้อความในเอกสารต่าง ๆ ไม่ถูกต้องตรงกัน เช่น วัน เดือน ปีเกิด ของผู้สมัคร ชื่อ ชื่อสกุล ของผู้สมัคร หรือของบิดามารดา อักษร สระ ตัวสะกด การันต์ เป็นต้น ต้องให้เจ้าหน้าที่ของทางราชการ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยก่อนยื่นสมัคร

๓. จดจำกำหนดวัน เวลา และสถานที่ของการสอบคัดเลือกตามที่โรงเรียนนายร้อยได้ประกาศให้ทราบในแต่ละครั้ง

๔. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องมีขนาดร่างกายตามที่กำหนดไว้ และไม่เป็นโรคหรืออาการที่ขัดต่อการรับสมัครเข้าเป็น นักเรียนเตรียมทหาร

๕. การไปสอบคัดเลือกตลอดจนการไปติดต่อต่าง ๆ ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ( ห้ามสวมรองเท้าแตะหรือเสื้อยืดคอกลม )

๖। กรณีสมัครด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องนำผู้ปกครองหรือผู้รับรองไปด้วย
การสอบพละ และตรวจร่างกาย ( นรต.)

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะคัดเลือกผู้ที่สอบข้อเขียนผ่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้คะแนนข้อเขียนรวมสูงสุดลงมาตามลำดับไว้จำนวนหนึ่ง แล้วประกาศรายชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป

๑๐.๒ การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติทดสอบบุคลิกภาพ สอบพลศึกษา สอบสัมภาษณ์ และวัดขนาด ร่างกายมีรายละเอียดดังนี้

๑๐. ๒.๑ การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายที่โรง พยาบาลตำรวจ ตามวัน
เวลาที่จะประกาศให้ทราบ
ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็นของคณะกรรมการแพทย์จากโรงพยาบาล
ตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ ที่สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งเป็นเด็ดขาด
จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจ หรือได้รับใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง
นอกจากการตรวจร่างกายแล้วจะ มีการฉาย X-RAY ตรวจโลหิต ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ ผู้สมัครจะต้องชำระค่าตรวจ
ร่างกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด
ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจธรรมดาผู้รับการตรวจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
ในวันตรวจร่างกายจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัคร เพื่อตรวจสอบประวัติไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และยังต้องตรวจสอบไปยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่อีกทาง หนึ่งด้วย
หากผู้ใดมีประวัติเคยถูกลงโทษหรือ ความประพฤติไม่ดีตามที่กำหนดไว้ในเรื่องของคุณสมบัติ จะถูกตัดสิทธิ
ไม่ให้เป็นผู้สอบคัดเลือกได้

คำเตือน

(๑) ในตอนเช้าวันตรวจร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด เพราะอาจทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ

(๒) ก่อนตรวจร่างกาย ห้ามรับประทานยาแก้ไอทุกชนิด หรือยากระตุ้นกำลัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติ
ทางหัวใจและหลอดเลือดได้

(๓) ห้ามผู้สมัครใส่ CONTACT - LENS ไปตรวจสายตา


๑๐.๒.๒ การทดสอบบุคลิกภาพ ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์ ได้-ตก โดยใช้แบบทดสอบที่คณะอนุกรรมการกำหนด

๑๐. ๒.๓ การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย มีคะแนนเต็มรวม ๕๐ คะแนน คะแนนที่ได้
จะให้ลดหลั่นกัน ลงมาตามลำดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทดสอบในแต่ละประเภทที่ผู้สอบปฏิบัติได้สำเร็จหรือ
จำนวนครั้งที่ปฏิบัติ

สำหรับผู้ที่ได้คะแนนรวมจากการทดสอบ ทุกประเภทต่ำกว่า ๒๐ คะแนนหรือ สอบว่ายน้ำ ๕๐ เมตร
หรือวิ่ง ๑,๐๐๐ เมตร ไม่ถึงหรือทำเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดถือว่าสอบตกให้คัดออก
(คะแนนผล การสอบพลศึกษาจะไม่นำไปรวมกับคะแนนการสอบข้อเขียน)
ผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบ ให้ครบทุกประเภท

ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่ง ถือว่าสอบตกและจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็น นักเรียนเตรียมทหาร
โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน

ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

(๑) ดึงข้อราวเดี่ยว
ท่า เตรียม ให้ผู้ทดสอบจับราวเดี่ยวแบบมือคว่ำกำรอบ ปล่อยตัวให้ตรงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรงท่าปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบทำท่าต่อจากท่าเตรียม โดยงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงสู่ท่าเตรียม กระทำติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด ห้ามแกว่งเท้าหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓-๔ วินาทีหรือไม่สามารถดึงขึ้นพ้นราวได้ ๒ ครั้ง ติดต่อกัน หรือดึงขึ้นไม่พ้น ให้หยุดทำการทดสอบถ้าทำได้ ๒๐ ครั้ง จะได้คะแนนเต็มถ้าทำได้ ๗ ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๒) ลุกนั่ง ๓๐ วินาที
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบนอนหงาย เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณฝ่ามือทั้งสองประสานกัน ที่ท้ายทอย ผู้ช่วยคุกเข่าอยู่บนปลายเท้าของผู้ทดสอบโดยเอามือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้ ทดสอบไว้ให้ส้นเท้าติดพื้นท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ให้ผู้ทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขน ทั้งสอง แตะกับเข่าแล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกแตะกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดภายใน ๓๐ วินาที ในขณะปฏิบัตินิ้วมือประสาน ที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอนตัวไปมาถ้าทำได้ ๒๕ ครั้ง จะได้คะแนนเต็มถ้าทำได้ ๑๙ ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๓) ยึดพื้นหรือดันข้อ
ท่า เตรียม ผู้ทดสอบนอนคว่ำมือยันพื้น แขนทั้งสองเหยียดตรงห่างกันพอประมาณ ลำตัวเหยียดตรงปลายเท้าจรดพื้นเงยศีรษะขึ้น- ๕ -ท่าปฏิบัติ ผู้ทดสอบทำต่อจากท่าเตรียม โดยยุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้บริเวณหน้าอกแตะพื้น แล้วดันลำตัวขึ้น กลับสู่ท่าเตรียม ทำเช่นนี้ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ห้ามทำตัวแอ่น หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือแขนทั้งสองข้างขึ้นไม่พร้อมกัน หรือหยุดพัก ระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓-๔ วินาที หรือไม่สามารถดันขึ้นสู่ท่าเตรียมเกินกว่า ๓-๔ วินาที ให้หยุดการทดสอบถ้าทำได้ ๕๔ ครั้ง จะได้คะแนนเต็มถ้าทำได้ ๒๗ ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๔) วิ่งระยะสั้น (๕๐ เมตร)
ท่า เตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่มในลู่วิ่งของตนเองพร้อมจะปฏิบัติท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งอย่างเร็วออกจากเส้นเริ่มจนผ่านเส้นชัยถ้าทำเวลาได้ไม่ เกิน ๕.๕ วินาที จะได้คะแนนเต็มถ้าทำเวลาได้ ๗ วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๕) วิ่งระยะไกล (๑,๐๐๐ เมตร)
ท่า เตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม เตรียมตัวปฏิบัติท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งจากเส้นเริ่มไปตามทางวิ่งจนสิ้นสุดระยะทางโดยผ่านเส้น ชัยถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน ๓.๑๘ นาที จะได้คะแนนเต็มถ้าทำเวลาได้ ๔.๓๒ นาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่งผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า ๕ นาที ๒๒ วินาที หรือวิ่งไม่ถึง จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๖) ยืนกระโดดไกล
ท่า เตรียม ผู้สอบยืนบนพื้นที่เรียบหลังเส้นกระโดด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น หันหน้าไปทางทิศทางที่จะกระโดดท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้เริ่มปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุด (โดยใช้การแกว่งแขนช่วย) วัดระยะทางการกระโดดจากเส้นกระโดดไปยังจุดที่ส้นเท้าลงบนพื้นไกลเส้นเริ่ม ต้นมากที่สุดถ้ากระโดดได้ไกล ๒.๕ เมตร จะได้คะแนนเต็มถ้ากระโดดได้ไกล ๒.๒๕ เมตร จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๗) ว่ายน้ำ ๕๐ เมตร
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนที่ขอบสระพร้อมจะปฏิบัติท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบพุ่งตัวลงสระว่ายน้ำแล้วว่ายโดยเร็ว จนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย การเข้าเส้นชัย ถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระที่เป็นเส้นชัยถ้าทำเวลาได้ไม่ เกิน ๔๐ วินาที จะได้คะแนนเต็มถ้าทำเวลาได้ ๕๔ วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่งผู้ที่สอบว่ายน้ำทำเวลาเกินกว่า ๑ นาที ๒๐ วินาที หรือว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๘) วิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ)
ท่า เตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม พร้อมจะปฏิบัติท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบวิ่งอย่างเร็วจากเส้นเริ่มไปหยิบท่อนไม้ ท่อนที่ ๑ ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี ๑ ฟุต กลับมาวางภายในวงกลมหลังเส้นเริ่ม (ห้ามโยนท่อนไม้ ถ้าวางไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่) แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่ ๒แล้ววิ่งกลับผ่านเส้นเริ่มต้นไปโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ ๒ ลงถ้าทำเวลาได้ภายใน ๙.๕ วินาที จะได้คะแนนเต็มถ้าทำเวลาได้ภายใน ๑๑ วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง


๑๐. ๒.๔ การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์
เป็น การพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจว่องไวและปฏิภาณไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผลการสอบถือเกณฑ์ “ได้” หรือ “ตก” เท่านั้นไม่มีคะแนน ผู้ที่สอบตกหมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตำรวจชั้น สัญญาบัตร และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารโดยไม่คำนึงถึงคะแนนสอบข้อ เขียนในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย
หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันที
๑๑.สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครและสอบคัดเลือก

๑๑.๑ สถานที่รับสมัคร สถานที่ทดสอบบุคลิกภาพ สถานที่สอบพลศึกษา สถานที่สอบสัมภาษณ์และวัดขนาดร่างกาย รวมทั้งสถานที่ปิดประกาศต่าง ๆ
: โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หมายเลข โทรศัพท์ (๐๓๔) ๓๑๒-๐๐๙

๑๑.๒ สถานที่สอบข้อเขียน : โรงเรียนนายร้อยตำรวจจะประกาศให้ทราบต่อไป

๑๑. ๓ สถานที่ตรวจร่างกายและพิมพ์ลายนิ้วมือ :
โรง พยาบาลตำรวจ ถนนราชดำริ (บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ใกล้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)ปทุมวันกรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ ๒๕๒๘๑๑๑-๒๕ และกองทะเบียนประวัติอาชญากร อาคาร ๒๕ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

๑๑.๔ สถานที่ปิดประกาศผลสอบรอบแรก (ผลสอบข้อเขียน) :
โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง เขตสายไหม กรุงเทพฯ

๑๒. การเตรียมตัวสอบ

๑๒.๑ การสอบข้อเขียน
๑๒.๑.๑ จะต้องจดจำรหัสประจำตัวสอบ แผนผังที่นั่งสอบ และควรไปดูสถานที่สอบไว้ล่วงหน้า
๑๒. ๑.๒ ผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และต้องไปให้ตรงตามเวลาที่นัดหมาย เพื่อรอเรียกเข้าห้องสอบ หากเรียกเข้าห้องสอบและลงมือสอบไปแล้ว ผู้ใดที่ไปไม่ทันเวลาเริ่มลงมือสอบ จะไม่ให้เข้าห้องสอบอย่างเด็ดขาด จะอ้างเหตุความจำเป็นใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น
๑๒. ๑.๓ ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์ตั้งแต่ ๒ บีขึ้นไป ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ เพื่อใช้ในการสอบ
๑๒. ๑.๔ นำบัตรประจำตัวสอบ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่ติด รูปถ่ายของผู้สมัคร เช่น บัตรประจำตัวนักเรียนหรือบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือใบขับขี่ เป็นต้น ไปแสดงควบคู่กันเพื่อเข้าสอบ และกรณีทำบัตรประจำตัวสอบหายจะต้องนำใบคำร้องแจ้งหายหรือสำเนาประจำวันของ สถานีตำรวจที่ผู้สมัครแจ้งหายไปแสดงยังกองอำนวยการคุมสอบก่อนเวลาสอบไม่น้อย กว่า ๒ชั่วโมง เพื่อขอออกบัตรแทน (ต้องนำมาแสดงทุกขั้นตอนของการสอบ)

๑๒. ๒ การสอบพลศึกษา การแต่งกายเข้าสอบวิ่งให้ผู้สอบนุ่งกางเกงขาสั้น หรือกางเกงกีฬาขาสั้น ส่วนการสอบว่ายน้ำให้เตรียมกางเกงว่ายน้ำไปด้วย

๑๒.๓ การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ ให้เตรียมกางเกงขาสั้นหรือกางเกงกีฬาขาสั้นไปด้วย

๑๒.๔ การทดสอบบุคลิกภาพ ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และให้เตรียมเงินค่าธรรมเนียมการทดสอบบุคลิกภาพตามที่คณะกรรมการกำหนด

๑๒.๕ การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ ให้เตรียมเงินค่าตรวจและแต่งกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด


๑๓. การปฏิบัติในการสอบ

๑๓. ๑ การขาดสอบข้อเขียน หรือขาดสอบพลศึกษาประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือขาดการทดสอบบุคลิกภาพ หรือขาดวัดขนาดร่างกายหรือขาดสอบสัมภาษณ์หรือขาดตรวจร่างกายจะถือว่าผู้ สมัครสละสิทธิในการสอบคัดเลือก

๑๓.๒ ผู้ที่ทุจริตในการสอบหรือมีผู้ช่วยเหลือในการกระทำทุจริต จะหมดสิทธิในการสอบทันที

๑๓. ๓ ในขณะเข้าห้องสอบ กรรมการคุมสอบจะค้นตัวผู้เข้าสอบทุกคน และจะไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่างหรืออุปกรณ์อื่นใดนอกจากเครื่องเขียนตามที่กำหนดในข้อ ๑๒.๑.๓ เข้าห้องสอบเด็ดขาด

๑๓. ๔ ผู้เข้าสอบจะออกจากห้องสอบได้เมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น ถ้าผู้เข้าสอบคนใดฝ่าฝืนจะถือว่าผู้นั้นสอบตกทุกวิชาและหากมีข้อสงสัย กรรมการคุมสอบจะทำการค้นตัวก่อนให้ออกจากห้องสอบ


๑๔. การประกาศผลการสอบคัดเลือก

๑๔. ๑ การประกาศผลสอบรอบแรก เมื่อเสร็จสิ้นการสอบรอบแรกแล้ว โรงเรียนนายร้อยตำรวจจะคัดเลือกผู้สอบข้อเขียนผ่านจากผู้ที่ได้คะแนน ข้อเขียนรวมสูงสุดลงมาตามลำดับ ไว้ตามจำนวนที่ต้องการ ถ้ามีคะแนนรวมเท่ากัน ให้เปรียบเทียบคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ตามลำดับ ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ผู้ที่ได้รับเลขลำดับสมัครก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า แล้วประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบรอบสอง โดยประกาศเรียงตามรหัสประจำตัวสอบ ผู้สมัครต้องไปดูผลสอบด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้สมัครเอง เนื่องจากผู้สอบได้รอบแรกและมีสิทธิ เข้าสอบรอบสองจะต้องรับแบบและสิ่งของ เพื่อสอบความประพฤติและเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว จะอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้

๑๔। ๒ การประกาศผลสอบรอบสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการสอบรอบสองแล้ว โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะคัดเลือกผู้ที่สอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้จากผู้ที่สอบรอบสองผ่าน โดยถือคะแนนรวมสูงสุด (คะแนนสอบข้อเขียนรวมกับคะแนนเพิ่มพิเศษ (ถ้ามี)) ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ ถ้ามีคะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนข้อเขียนสูงกว่าอยู่ในลำดับที่ดีกว่า ถ้าได้คะแนนข้อเขียนเท่ากันอีก ให้เปรียบเทียบคะแนนวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ตามลำดับ ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ผู้ได้รับเลขลำดับสมัครก่อนเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่ดีกว่า แล้วประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนัก งานตำรวจแห่งชาติได้ ตามจำนวนที่ต้องการโดยประกาศเรียงตามรหัสประจำตัวสอบ ผู้ที่มีรายชื่อในประกาศจะต้องคอยรับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการทำสัญญามอบตัว จากเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง
ประกาศของปี 2552 ใช้เทียบเคียงเป็นแนวทางในปี 2553
(รายละเอียดอาจมีเปลี่ยนแปลงได้)


โรงเรียน นายร้อยตำรวจ มีความประสงค์จะรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลภายนอกเข้าเป็นนักเรียนเตรียม ทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2552 และรับจากข้าราชการตำรวจ รวมจำนวน 220 คนรับสมัครด้วยตัวเอง ตั้งแต่วันที่ 12-17 มีนาคม 2552


รับจากบุคคลภายนอก (180 คน)
1.สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า
2.อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (นับปีชนปี)
3.มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้วมารดาจะมิใช่เป็นผู้ มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
4.มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหารหรือตำรวจ ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการรับราชการทหารและ ตำรวจ (รายละเอียด ตาม ผนวก ก.ในระเบียบการรับสมัครนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
5.เป็นชายโสด ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ หรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นพอที่จะถือได้ว่าเป็นผู้มีภรรยา ไม่ว่าจะโดยทางนิตินัยหรือพฤตินัย
6.เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีอุดมการณ์เลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข และมีผู้ปกครองดูแลความประพฤติ
7.ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
8.ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกฟ้อง หรือต้องหา หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือเคยต้องคำพิพากษาของศาลว่าได้กระทำผิดในคดีอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาณ หรือความผิดลหุโทษ
9.ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างพักราชการ หรือหนีราชการ
10.ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกไล่ออกจากโรงเรียน หรือถูกปลดออกเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
11.ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
12.เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว
13.ต้องมีผู้ปกครองหรือรับรอง ซึ่งสามารถรับรองข้อความและพันธกรณีตามที่ทางราชการกำหนดไว้
14.ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
15.ไม่เป็นผู้ที่เคยทุจริตในการสมัคร หรือในการสอบคัดเลือกมาแล้ว
16.ไม่เป็นผู้ที่ออกจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เพราะความประพฤติบกพร่องหรือลาออก
17.พื้นความรู้และคุณสมบัติดังกล่าวนี้ แม้ปรากฏว่าเป็นความเท็จขึ้นภายหลังที่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้วก็ ตาม จะต้องจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหารทันที

วัน เวลา และสถานที่จำหน่ายระเบียบการและใบสมัคร
1.จำหน่ายระเบียบการและใบสมัคร ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2551-12 มีนาคม 2552 เวลา 08.30-16.00 น. ตามสถานที่ดังนี้
-โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (เว้นวันหยุดราชการช่วงปีใหม่)
-โรงเรียนนายเรืออากาศ (เว้นวันหยุดราชการ)
-ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9 (เว้นวันหยุดราชการ)
2.สมัครทางไปรษณีย์ ตั้งแต่วันที่ 6-27 มกราคม 2552
3.สมัครด้วยตนเอง ตั้งแต่วันที่ 12-17 มีนาคม 2552 เวลา 08.00-16.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ

รับจากข้าราชการตำรวจ (40 คน)
1.รับราชการตำรวจมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันแรกที่สอบข้อเขียน
2.สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า
3.มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้วมารดาจะมิใช่เป็นผู้ มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
4.เป็นชายโสด ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ หรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นพอที่จะถือได้ว่าเป็นผู้มีภรรยา ไม่ว่าจะโดยทางนิตินัยหรือพฤตินัย
5.มีขนาดร่างกายต้องสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร และรอบอกไม่น้อยกว่า 77 เซนติเมตร
6.มีอายุไม่เกิน 25 ปี ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ การนับอายุให้นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร (นับปีชนปี)
7.ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกฟ้อง หรือต้องหา หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือเคยต้องคำพิพากษาของศาลว่าได้กระทำผิดในคดีอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาณ หรือความผิดลหุโทษ
8.ไม่เป็นผู้เคยถูกถอนทะเบียน หรือพ้นจากความเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ด้วยเหตุที่ระบุไว้ในข้อบังคับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือไม่เคยถูกให้ออกจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาอื่นใดเพราะเหตุประพฤติชั่ว เพราะการกระทำความผิดหรือผิดวินัย หรือมความพฤติไม่เรียบร้อย
9.ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ตาม ผนวก ก. ในระเบียบการและวิธีการรับสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ
10.ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ หรือกฎหมายอื่น
11.ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก เพราะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ หรือกฎหมายอื่น
12.ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากองค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
13.ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบคัดเลือก หรือสอบแข่งขันใด ๆ
14.เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญโดยความบริสุทธิ์ใจ
15.ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวชในศาสนาใด ๆ
16.ไม่เป็นผู้ที่ลาออกจากราชการตำรวจยังไม่ถึง 1 ปี หรือผู้ที่ทางราชการไม่รับสมัครต่อจากวันครบกำหนดปลดกองหนุน หรือผู้ที่ถูกให้ออกจากราชการหย่อนความสามารถ เนื่องจากมีความไม่เหมาะสมในการทดลองปฏิบัติราชการ
17.เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี โดยผู้บังคับบัญชารับรองความประพฤติ
18.ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
19.ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
20.ไม่เป็นผู้ดำรงตำแห่งทางการเมือง
21.ในรอบ 12 เดือนที่แล้วมาถึงวันเปิดรับสมัคร ต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัยสูงกว่าโทษภาคทัณฑ์
22.ต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย หรือต้องหาในคดีอาญาเว้นแต่ต้องหาในคดีอาญาอันเนื่องจากการปฏิบัติราชการตาม หน้าที่
23.พื้นความรู้ คุณสมบัติและความประพฤติดังกล่าวนี้ ถ้าปรากฏว่าเป็นความเท็จขึ้นภายหลังรับเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจแล้วก็ ตาม จะต้องถูกออกจากความเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจทันที


วัน เวลา และสถานที่ จำหน่ายระเบียบการและใบสมัคร
1.จำหน่ายระเบียบการและใบสมัคร ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2551-13 มกราคม 2552 เวลา 08.30-16.00 น. ตามสถานที่ดังนี้
-โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (เว้นวันหยุดราชการช่วงปีใหม่)
-ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9 (เว้นวันหยุดราชการช่วงปีใหม่)
2।รับสมัครพร้อมแจ้งรหัสประจำตัวสอบ และสถานที่สอบ ตั้งแต่วันที่ 6-13 มกราคม 2552เวลา 08.00-16.00 น. ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (บก.อก.) (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

แนะสอบเข้า นักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของตำรวจ

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ขอให้ผู้ที่สนใจและมีพื้นความรู้คุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด ฝึกฝนและเสริมสร้างความพร้อม
ทั้งในด้านความรู้ ด้านร่างกายและด้านจิตใจ ให้สามารถสอบผ่านทั้งรอบแรก (ข้อเขียน) และรอบสองเพื่อไปสู่
การฝึกอบรม ทั้งในส่วนของโรงเรียนเตรียมทหารทหารและโรงเรียนนายเรือตำรวจ

พล.ต.ท.อมรินทร์ อัครวงษ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ แจง รายละเอียดการเปิดสอบ
เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ระบุผู้ที่จะเข้ามาเป็น
นักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องเป็นผู้ที่มีพื้นความรู้และคุณสมบัติตาม
ที่กำหนด และจะต้องเข้าสู่ กระบวนการสอบแข่งขัน 2 รอบ ทั้งข้อเขียนและตรวจร่างกาย (สอบพลศึกษา)
สอบสัมภาษณ์และวัดขนาดร่างกาย

ย้ำผู้สอบผ่าน จะได้รับการศึกษาอบรม 2 ช่วง คือ ศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร 3 ปี และศึกษาที่
โรงเรียน นายร้อยตำรวจ 4 ปี ได้รับเงินเดือน ทุกชั้นปี พร้อมแนะขอให้ผู้ที่สนใจและมีพื้นความรู้ครบถ้วน ฝึกฝน และเสริมสร้างความพร้อม ทั้งด้านความรู้ ด้านร่างกายและด้านจิตใจ ให้สามารถสอบผ่านทั้งรอบแรก (ข้อเขียน) และรอบสอง
เพื่อไปสู่การฝึกอบรม ทั้งในส่วนของโรงเรียนเตรียมทหารทหารและโรงเรียนนายเรือตำรวจ

พล.ต.ท.อมรินทร์ อัครวงษ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปิดเผย ถึงวัตถุประสงค์และแนวนโยบาย
ในการเปิดสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนัก เรียนเตรียมทหารในส่วนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่า

โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นหน่วยที่มีภารกิจในการให้การศึกษา แก่นักเรียนเตรียมทหาร ให้มีความรู้
ความสามารถในวิชาการ ปลูกฝังคุณสมบัติการเป็นผู้นำ อุปนิสัย กำลังใจให้เข็มแข็ง มั่นคง ตลอดจนเสริมสร้างพลานามัย
เพื่อ ให้ผู้สำเร็จการศึกษาทุกคน มีความรู้ คุณสมบัติ และสมรรถภาพอันเหมาะสมที่จะเข้ารับการศึกษาต่อใน รร.จปร., รร.นร., รร.นอ. และ รร.นรต

สำหรับจำนวนของนักเรียนเตรียมทหาร (นตท.) ในส่วนของ ตร. ในแต่ละปีจะต้องได้รับอนุมัติจาก
ตร. โดยในแผนสรรหาปี 2550-2554 ตร.ได้อนุมัติกรอบสรรหาบุคคลภายนอกเข้าเป็น นตท.ในส่วนของ ตร.
จำนวนปีละ 180 คน

การรับสมัค รและสอบคัดเลือก บุคคลภายนอกเข้าเป็น นตท.ในส่วนของ ตร. รร.นตร. โดยอนุมัติของ ตร.
จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือก โดยเป็นการมอบหมายหน้าที่ ตั้งแต่การรับสมัคร
จนถึงการประกาศผลผู้สอบได้ โดยทุกขั้นตอน จะดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้